วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อะไรคือ เคส (Case)คอมพิวเตอร์

เคส (Case) คืออะไร
Case หรือ “เคส” คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU  เมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น

รูปแบบของ Case

1.Case แนวนอน


2.Case แนวตั้ง






ข้อมูลจาก: kwanbk261

เมนบอร์ด(Mainboard)คืออะไร

เมนบอร์ดคืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง



คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นมีส่วนประกอบมากมายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นมีความสำคัญในหน้าที่ของอุปกรณ์นั้น ๆแต่มีอุปกรณ์หนึ่งที่เปลี่ยนเสมือนร่างกายที่คอยเป็นตัวประสานให้สมองสั่งงานให้กับส่วนต่างๆได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ เมนบอร์ด (Mainboard) สมองก็คือ ซีพียู (CPU) และส่วนประกอบต่างๆก็คือ การ์ดจอ ฮาร์ดดิกส์ และอื่นๆ





เมนบอร์ดคืออะไร
เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ ATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
– PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
– AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
– ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
– ETX ใช้ใน embedded systems
– LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
– WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่ 2 แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ดทั่วไป ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่มีความสำคัญซึ่งมีหน้าที่คอยควบคุมและจัดการให้กับอุปกรณ์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่าง ๆจากตัวอุปกรณ์ต่างๆไปยังซีพียู และรับคำสั่งที่ได้รับการประมวลผลจากซีพียู นำไปส่งให้อุปกรณ์นั้นๆเพื่อให้การทำงานต่างๆไม่ติดขัด
ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง
อย่างที่รู้กันว่าเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งประโยชน์ของเมนบอร์ดนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในเครื่อง ถ้าเมนบอร์ดไม่มีคุณภาพอาจจะทำให้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหายได้
ซึ่งถ้าเมนบอร์ดที่ใช้งานมีเสถียรภาพและคุณภาพที่ดี จะทำให้การทำงานในแต่ละครั้งไหลลื่น อุปกรณ์ทุกอย่างจะทำงานอย่างไม่มีสะดุด เป็นผลให้เพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วย
การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานเมนบอร์ดที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพื่อป้องกันจุดด้อยที่ต้องระวังไม่ให้เกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเมนบอร์ดมากที่สุด จุดที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของความร้อน สาเหตุที่ปัจจุบันนิยมใช้มาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ก็เพราะว่ามีการวางตำแหน่งซีพียูและอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั้นเอง


ข้อมูลจาก:เกล็ดความรู้.net

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การ์ดจอ(Graphic Card)คืออะไร

Graphic Card(การ์ดจอ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลย เพราะการ์ดจอนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยกระบวนการประมวลผลของภาพต่างๆ เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลผ่านทาง CPU และต่อมาเมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จก็จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดจอ จากนั้นการ์ดจอก็จะส่งข้อมูลภาพที่ได้มาไปยังหน้าจอมอนิเตอร์นั้นเองครับ

AU268CHZNMQCSHOP_3เราได้เห็นถึงความสำคัญของการ์ดจอ (Graphic Card) กันไปที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการ์ดจอนั้นยังมีส่วนสำคัญสำหรับคนที่ชอบการ ดูหนัง เล่นเกมที่มีกราฟิกสวยๆ เพื่อความสมจริงกับเกมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำงานด้านกราฟิกที่ต้องใช้การ์ดจอเฉพาะด้านอีกด้วยครับ ซึ่งวันนี้ทางเราจะมาแนะนำการ์ดจอให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคนนะครับ
วิธีการเลือกการ์ดจอ (Graphic Card)
  1. ประเภทของการ์ดจอ
การ์ดจอแต่ละประเภทให้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งออกได้เป็น ประเภทย่อยๆคือ
  • การ์ดจอออนบอร์ด การ์ดจอประเภทนี้จะเป็นการ์ดจอที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นที่ค่อนข้างประหยัด โดยจะติดมากับเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ ที่เราได้ซื้อมา ความสามารถของมันก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร เพราะสามารถทำได้แค่สิ่งทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง หรือใช้งานทั่วไปนั่นเอง
  • การ์ดจอสำหรับคนทำงานด้านกราฟิก เป็นการ์ดจอประเภทที่นิยมกับการ Render งานกราฟิก เหมาะกับการประมวลผลหนักๆ แต่ราคาจะแพงกว่าการ์ดจอเล่นเกม และมีหลายๆ คนถามว่าเหมาะกับการเล่นเกมไหม? เอาตามตรงก็คือเล่นได้ครับ แต่จะไม่เหมาะเท่ากับการ์ดจอเล่นเกมโดยเฉพาะ แนะนำว่าเลือกซื้อประเภทที่เราจะใช้ดีกว่าครับ
  • การ์ดจอสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ เป็นการ์ดจอที่เหมาะกับการแสดงผลที่ค่า Frame per second (FPS) สูงๆ เพื่อความลื่นไหลของเกม และยังเน้นในเรื่องของ Resolution ที่มี่ความละเอียดค่อนข้างสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาพอีกด้วย แต่ประเภทนี้จะกินไฟเยอะกว่าการ์ดจอทำงานนะครับ
  1. ความละเอียดในการแสดงผล (Resolution)
การ์ดที่ดีต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดที่สูงได้เป็นอย่างดี ความละเอียดของภาพก็คือ จำนวนจุดพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไปแสดงบนหน้าจอมอนิเตอร์ได้ ยิ่งจำนวนจุดมาก ก็จะทำให้ความละเอียดมากยิ่งขึ้น และยังคมชัดอีกด้วย
  1. อัตราการรีเฟรชของหน้าจอ (Refresh Rate)
การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพที่ดี ควรมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลากหลายรูปแบบ อัตรารีเฟรชคือ จำนวนครั้งที่หน้าจอได้กวาดใหม่ใน 1 วินาที ซึ่งถ้าหากว่าอัตราการรีเฟรชต่ำ จะทำให้หน้าจอมีการกระพริบ ทำให้ผู้ใช้จะมีอาการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาได้ และสามารถทำอันตรายกับดวงตาได้ ซึ่งในทุกวันนี้ อัตรารีเฟรชเรทจะอยู่ที่ 144 เฮิรตซ์หรือมากกว่าในบางรุ่น ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ขึ้น อัตราการรีเฟรชต้องเพิ่มมากขึ้นตามขนาด ยิ่งมากยิ่งดีครับ
  1. หน่วยความจำ (Memory)
การ์ดจอจำเป็นต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับในการเก็บข้อมูล สำหรับการ์ดแสดงผลในบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวเอง โดยสามารถทำหน้าที่แทน CPU ได้ ยังสามารถช่วยให้ CPU ไม่ต้องทำงานหนักมากอีกด้วย และยังช่วยให้ CPU ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
  1. จุดประสงค์ในการใช้งาน ควรรู้ก่อนที่จะซื้อ
ถามตัวเองว่าเราจะซื้อมาใช้งานในรูปแบบไหน ทำงานธรรมดาทั่วไป ท่องอินเตอร์เน็ต เล่นเกม หรือทำงานด้านกราฟิกที่ต้องใช้ความสามารถของการ์ดจอ เพราะถ้าหากคุณเลือกซื้อการ์ดจอแพงๆ ที่สามารถเล่นเกมได้หรือทำงานได้เป็นอย่างดี แต่ใช้แค่การพิมพ์ แชท และท่องอินเตอร์เน็ตทั่วไป จะเป็นการเสียเงินฟรีๆ และยังเสียค่าไฟเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยครับ

ข้อมูลจาก:http://itnews4u.com

ซีพียู(CPU)คืออะไร

ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลกลาง
CPU นับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผลคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ สั่งผ่านโปรแกรม ต่าง ๆ ที่ เป็นโปรแกรมประยุกต์ ซีพียูนั้นจะต้องรับภาระในการควบคุมการ ทำงานของส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์แสกนเนอร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง

แบบของซีพียู
ซีพียู: ของแต่ละบริษัทและแต่ละรุ่นจะมีรูปร่าง ลักษณะโครงสร้างและจำนวนขาไม่เหมือนกัน จากความแตกต่างกัน นี้เอง ซีพียูแต่ละตัวจึงใช้เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซีพียู สำหรับเครื่องพีซี แบบตั้งโต๊ะทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ

ซีพียู: แบบ Cartridge ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นตลับแบนๆ ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมด้านล่างจะเป็นแผงขาสัญญาณของซีพียู สำหรับ เสียบลงในช่องแบบ สล๊อต (Slot) โดยซีพียูแบบ Cartridge ยังแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 3 แบบ ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ผู้ผลิตและรุ่นซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ ซีพียูแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่าแบบ SECC (Single Edde Connector Cartridge)

ซีพียู: แบบ PGA ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นชิปแบนๆ มีขาจำนวนมากอยู่ใต้ตัวซีพียู สำหรับเสียบลงในช็อคเก็ตจึงเรียก ว่า PGA และสามารถ แบ่งออกเป็นแบบย่อยๆ ได้อีก 3 แบบ เช่นกัน ซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ มีดังนี้ - Socket 7 ใช้กับซีพียูรุ่นเก่า เช่น Pentium MMX , AMD K5, K6 มีจำนวนขาสัญญาณ 321 ขา - Socket 370 พัฒนาโดย Intel ใช้กับ Pentium III, Celeron (รุ่นใหม่) และ Cyrix III มีขาสัญญาณ 370 ขา - Socket A พัฒนาโดย AMD เพื่อให้กับซีพียูของตนเอง ใน Athlon รุ่นใหม่และ Duron มีขาสัญญาณ 462 ขา

บริษัทผู้ผลิต CPU
Intel : จากอดีตจนถึงปัจจุบันซีพียูค่ายนี้มักจะมีเทคโนโลยีการผลิตและความเร็วเหนือซีพียูจากค่ายอื่นๆโดยซีพียูตระกูลแรกที่ ใช้หมายเลขแสดงรุ่นมักจะถูกซีพียูจากค่ายอื่นเลียนแบบ โดยใช้คำว่า PR (Pentium Rate) ตามด้วยความเร็วซีพียูเป็น MHzเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ไม่คลอบคลุมถึงตัวเลขดังนั้นในรุ่นต่อมาอินเทล จึงเปลี่ยนไปเรียกชื่อแทนการใช้ เลขมีดัง นี้ Pentium , Pentium MMX , Pentium Pro , Pentium III , Celeron , Pentium II , Pentium 4
AMD : AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับ อินเทล ได้ใกล้เคียงกันซึ่ง อินเทล มักเป็น ผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMD เน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ ใช้ เริ่มหันมาซื้อซีพียูของ AMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5, K6 ส่วนรุ่น K7 หรือ Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่า Intel

อะไรคือ เคส (Case)คอมพิวเตอร์

เคส (Case) คืออะไร Case หรือ “เคส” คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรั...